วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับ

เคล็ดลับ 
         
 การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้

การจัดจำหน่าย

การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง ๆ เช่น


   1.ไก่เนื้อสด          
2. ข้าวมันไก่
3. ไก่ย่าง 





                                               





การจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อม
 สิ่งปฏิกูลต่าง ๆรวมถึงขยะต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม
วิธีการกำจัดของเสีย

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์

 

1. ฟาร์ม  จะต้องมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึง การมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้า และออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม



2. การบำบัดโรค
  • การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
  • การใช้ยาสำหรับสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540)

 

การจัดการฟาร์ม

  1. การจัดการโรงเรือน
    • โรงเรือนและที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
    • โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
    • ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือน ให้มีความปลอดภัยต่อไก่และผู้ปฏิบัติงาน
    • มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ตามความเหมาะสม
    • มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง
  2. การจัดการด้านบุคลากร
    • ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มีการจัดการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่ง อย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
    • ให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยภายในฟาร์ม โดยสัตวแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการบำบัด โรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์
  3. คู่มือการจัดการฟาร์ม
    ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยง การจัดการฟาร์ม ระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม
  4. ระบบการบันทึกข้อมูล ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิต และข้อมูลผลผลิต
  5. การจัดการด้านอาหารสัตว์
    1. คุณภาพอาหารสัตว์
      - แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
      ก. ในกรณีซื้อาหารสัตว์ ต้องซื้อจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตาม พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525
      ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามที่กำหนดตาม พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525
      - ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
      ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือวัตถุอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอื่น สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
      - การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
      ควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์ คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
    2. การเก็บรักษาอาหารสัตว์
      ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามิน ควรเก็บไว้ในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ ต้องสามารถรักษา สภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์

ลักษณะของฟาร์ม


ลักษณะของฟาร์ม


  • เนื้อที่ของฟาร์ม
    ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม โรงเรือน
  • การจัดแบ่งพื้นที่
    ต้องมีเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอ สำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน และไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์ การควบคุมโรคสัตว์สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วน โดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
  • ถนนภายในฟาร์ม
    ต้องใช้วัสดุคงทน มีสภาพและความกว้างเหมาะสม สะดวกในการขนส่งลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลผลิตเข้า-ออก จากภายในและภายนอกฟาร์ม
  • บ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน
    อยู่ในบริเวณอาศัยโดยเฉพาะ ไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงสะอาด เป็น ระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจาก บริเวณเลี้ยงสัตว์ตามที่กำหนดอย่างชัดเจน
ลักษณะของโรงเรือน  โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ สัตว์อยู่สบาย

ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม

ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม


  • อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก
  • สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้ 
  • อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ปีก ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก
  • อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาด ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี
  • ควรได้รับความยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
  • เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มีต้นไม้ใร่มเงาภายในฟาร์ม