วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับ

เคล็ดลับ 
         
 การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้

การจัดจำหน่าย

การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง ๆ เช่น


   1.ไก่เนื้อสด          
2. ข้าวมันไก่
3. ไก่ย่าง 





                                               





การจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อม
 สิ่งปฏิกูลต่าง ๆรวมถึงขยะต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม
วิธีการกำจัดของเสีย

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์

 

1. ฟาร์ม  จะต้องมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึง การมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้า และออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม



2. การบำบัดโรค
  • การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
  • การใช้ยาสำหรับสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540)

 

การจัดการฟาร์ม

  1. การจัดการโรงเรือน
    • โรงเรือนและที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
    • โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
    • ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือน ให้มีความปลอดภัยต่อไก่และผู้ปฏิบัติงาน
    • มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ตามความเหมาะสม
    • มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง
  2. การจัดการด้านบุคลากร
    • ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มีการจัดการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่ง อย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
    • ให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยภายในฟาร์ม โดยสัตวแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการบำบัด โรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์
  3. คู่มือการจัดการฟาร์ม
    ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยง การจัดการฟาร์ม ระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม
  4. ระบบการบันทึกข้อมูล ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิต และข้อมูลผลผลิต
  5. การจัดการด้านอาหารสัตว์
    1. คุณภาพอาหารสัตว์
      - แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
      ก. ในกรณีซื้อาหารสัตว์ ต้องซื้อจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตาม พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525
      ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามที่กำหนดตาม พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525
      - ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
      ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือวัตถุอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอื่น สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
      - การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
      ควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์ คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
    2. การเก็บรักษาอาหารสัตว์
      ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามิน ควรเก็บไว้ในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ ต้องสามารถรักษา สภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์

ลักษณะของฟาร์ม


ลักษณะของฟาร์ม


  • เนื้อที่ของฟาร์ม
    ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม โรงเรือน
  • การจัดแบ่งพื้นที่
    ต้องมีเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอ สำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน และไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์ การควบคุมโรคสัตว์สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วน โดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
  • ถนนภายในฟาร์ม
    ต้องใช้วัสดุคงทน มีสภาพและความกว้างเหมาะสม สะดวกในการขนส่งลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลผลิตเข้า-ออก จากภายในและภายนอกฟาร์ม
  • บ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน
    อยู่ในบริเวณอาศัยโดยเฉพาะ ไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงสะอาด เป็น ระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจาก บริเวณเลี้ยงสัตว์ตามที่กำหนดอย่างชัดเจน
ลักษณะของโรงเรือน  โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ สัตว์อยู่สบาย

ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม

ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม


  • อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก
  • สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้ 
  • อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ปีก ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก
  • อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาด ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี
  • ควรได้รับความยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
  • เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มีต้นไม้ใร่มเงาภายในฟาร์ม

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงไก่เนื้อ


        1.  
สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว  มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง  14  เมตร  ยาว 100  เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม  กันหนู  และงูได้

        2.  ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ  แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค  และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ  พักเล้าไว้ประมาณ  10  วัน  แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ

         3. นำไก่เนื้อเกรด  A  อายุ  1  วัน  มาเลี้ยงในเล้ากก  ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ  100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ  เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น

         4. เมื่อครบ  10  วัน  ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิ่น  และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย  21 %  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  3  สัปดาห์

         5. เมื่อไก่อายุครบ  48-50  วัน  น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  2.2  กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน  5 %  ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้

การเลี้ยงไก่เนื้อทำได้หลายวิธี

การเลี้ยงไก่เนื้อสามารถกระทำได้หลายแบบหลายวิธี แล้วแต่ความเหมาะสมกับท้องถิ่นและทุนที่มีอยู่ เช่น

 
1.การเลี้ยงแบบปล่อยลาน วิธีนี้เหมาะสำหรับชนบทที่กว้างขวาง เช่น เลี้ยงตามหัวไร่ปลายนา มีไก่จำนวนน้อย ปล่อยให้หาอาหารตามธรรมชาติ ผู้เลี้ยงอาจจัดอาหารเพิ่มเติมถ้าหากอาหารไม่พอเพียง โดยจัดวางในภาชนะหรือจะโปรยให้กินวันละประมาณ 1-2 ครั้ง ไก่จะเกาะคอนนอนตามต้นไม่หรือในเล้า การเลี้ยงแบบนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำเพราะไม่ต้องลงทุนค่าอาหารมากนัก ผลผลิตที่ได้ก็ใช้เป็นอาหารในครอบครัว หากเหลือก็อาจขายเปลี่ยนเป็นเงินได้

 
2.การเลี้ยงแบบจำกัดเขตหรือครึ่งเข้าครึ่งปล่อย เป็นวิธีที่ลงทุนน้อยใช้เลี้ยงไก่ได้ทั้งปริมาณน้อยและมาก โดยการทำรั้วเป็นลานต่อออกจากเล้าไก่ การเลี้ยงแบบนี้มักกักไก่ไว้ในเล้าและปล่อยให้ออกลานในบางโอกาส เจ้าของไก่จะจัดเตรียมอาหารและน้ำให้กินตลอดเวลา เนื่องจากไก่ไม่มีโอกาสออกไปหาอาหารตามธรรมชาติได้

 
3.การเลี้ยงแบบเล้าหรือกรง วิธีเลี้ยงแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินจำกัด จึงปลูกสร้างเล้าหรือกรงให้ไก่อยู่ภายในโดยเฉพาะเพียงแห่งเดียว ขนาดกรงกว้างยาวเท่ากับ 3 * 2 เมตร ใส่ไก่ประมาณ 15-25 ตัว ขนาดพื้นที่และจำนวนไก่อาจผิดไปจากนี้บ้าง วัสดุก่อสร้างอาจใช้ไม่ไผ่เพราะหาได้ทั่วไป ราคาถูก วัสดุมุงหลังคาอาจเป็นจากหรือแฝก แต่ถ้าเลี้ยงมากๆ ก็อาจใช้สังกะสีหรือกระเบื้อง แทนเพื่อไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ ก็ได้
 
 
 
ที่มาhttp://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-6377.html
ไก่เนื้อ

ไก่เนื้อ หรือ ไก่กระทงนิยมเลี้ยงกันมาประมาณ 20 กว่าปีแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นโดยทั่วไปนิยมบริโภคไก่ใหญ่ที่เป็นไก่พื้นเมืองหรือไก่ตอน สำหรับไก่เนื้อนี้โดยเฉลี่ยเป็นไก่ที่มีอายุไม่เกิน 8 สัปดาห์ มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม เป็นพันธุ์ไก่ที่ใช้อาหารน้อย มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อสูง เนื้อไก่นุ่ม ไม่เหนียว มีความโอชะตามแบบฉบับของไก่เนื้อ
การเลี้ยงไก่เนื้อได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์ที่สำคัญยิ่ง มีระบบการจัดการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบการผลิตไก่เนื้อนั้นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ ฝ่ายเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ไก่เพื่อผลิตลูกไก่ โดยจะรวมโรงฟักไข่เข้าไปด้วย และฝ่ายเลี้ยงลูกไก่เพื่อผลิตไก่เนื้อส่งตลาด กล่าวคือ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่เพื่อผลิตลูกไก่นับเป็นงานที่ต้องใช้ทุน และ ใช้วิชาการที่ค่อนข้างสูง ผู้เลี้ยงผสมพันธุ์จะต้องใช้พ่อแม่พันธุ์ไก่ที่ดีที่เหมาะสม ต้องทดสอบพันธุ์ไก่ที่จะใช้ผสมพันธุ์ว่า มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตเนื้อสูงเพียงใด และจะต้องจัดการผสมพันธุ์ไก่เพื่อผลิตไข่มาฟัก ซึ่งอาจดำเนินการด้านโรงฟักและจัดจำหน่ายลูกไก่ด้วย ส่วนการเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อส่งตลาดนั้น มีเทคนิคและวิธีการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยากนัก จึงเหมาะสำหรับผู้สนใจที่คิดจะเลี้ยงที่ยังไม่ค่อยมีความชำนาญ การเลี้ยงไก่เนื้อมีความได้เปรียบกว่าการเลี้ยงสัตว์อื่นๆบ้าง ก็ตรงที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะปัจจุบันมีพันธุ์ไก่ที่ผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงมาแล้วว่า มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว กินอาหารน้อย และมีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดี ทั้งยังมีปัจจัยการผลิตซึ่งประกอบขึ้นเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อที่สมบูรณ์

 

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงไก่เนื้อ

 การเลี้ยงไก่เนื้อ 

 เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง  หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้  เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา  บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก